10 เ คล็ดลั บเตรียมตัวก่อนนอน หลับสนิทตลอดคืน

10 เ คล็ดลั บเตรียมตัวก่อนนอน หลับสนิทตลอดคืน

หากคุณเป็นคนนอนหลับยาก หรือตื่นกลางดึกเสมอ ลองทำตามข้อปฏิบัติ 10 ประการการนอนที่ถูกหลักอนามัย (sleep hygiene) สำหรับผู้ใหญ่ เพื่อการนอนหลับพักผ่อนให้ได้ประสิทธิภาพอย่างเต็มที่

อาจารย์ ดร.กภ.ธวัชชัย ลักเซ้ง สาขากายภาพบำบัดระบบประส าท สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทย าลัยวลัยลักษณ์ ระบุว่า เราทุกคนคงทราบกันดีอยู่แล้วว่าการนอนเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตของคนเราเป็นอย่างมาก โดยประมาณ 1 ใน 3 ของช่วงชีวิตของเราใช้ไปกับการพักผ่อนนอนหลับ หากสมมติว่าคนเรามีอายุเฉลี่ยยืนยาวถึง 80 ปี เราก็จะสามารถคิดชั่ วโมงการนอนออกมาได้ประมาณ 26.67 ปีเลยทีเดียว แต่ใช่ว่าในแต่ละช่วงอายุจะต้องการการนอนหลับเท่ากันซะทีเดียว เมื่อแรกเกิดอาจต้องการการนอนหลับมาก และจำนวนชั่ วโมงการนอนหลับนี้ก็จะค่อยๆ ลดลงตามอายุที่มากขึ้น กล่าวคือ

เด็กแรกเกิด ต้องการการนอนหลับตั้งแต่ 20 ชั่ วโมงขึ้นไป

เด็กขวบปีแรก ต้องการการนอนหลับ 12 ชั่ วโมงขึ้นไป

เด็กวัยประถม ต้องการการนอนหลับ ประมาณ 9-11 ชั่ วโมง

เด็กวัยรุ่น ต้องการการนอนหลับ ประมาณ 10 ชั่ วโมง

วัยมหาวิทย าลัย ต้องการการนอนหลับ ประมาณ 7-9 ชั่ วโมง

วัยผู้ใหญ่ตอนต้น ต้องการการนอนหลับ ประมาณ 7-9 ชั่ วโมง

วัยผู้ใหญ่ตอนกลางถึงตอนปลาย ต้องการการนอนหลับ ประมาณ 7-8 ชั่ วโมง หรือน้อยกว่านั้น

ข้อปฏิบัติ 10 ประการการนอนที่ถูกหลักอนามัย (sleep hygiene) สำหรับผู้ใหญ่

-ควรเข้านอนและตื่นนอนให้ตรงเวลาเป็นประจำทุกวัน ทั้งวันทำงานและวันหยุด

-ควรรับแสงแดดให้เพียงพอในตอนเช้าอย่างน้อย 15-30 นาทีทุกวันต่อเนื่องอย่างน้อย 4 สัปดาห์จะช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้มีความตื่นตัวในเวลากลางวัน ทำงานได้ดีขึ้น และสุขภาพทางกายและใจดีขึ้น เนื่องจากแสงแดดเป็นตัวควบคุมนาฬิกาชีวิต (biological clock) ที่สำคัญมากในสม องของเรา

-ควรใช้ห้องนอนเพื่อการนอนและกิจกรร มทางเพ ศเท่านั้น อย่ าใช้ห้องนอนและเตียงนอนเป็นที่ทำงาน เล่นโทรศัพท์มือถือ ดูโทรทัศน์

-หากนอนไม่หลับภายใน 20-30 นาที ไม่ควรข่มตานอน ควรลุกจากที่นอนทำกิจกร รมเบาๆ เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลงเบาๆ แล้วกลับมานอนใหม่อีกครั้งเมื่อง่วง

-เตียงนอนควรเป็นเตียงที่นอนแล้วสบาย มีอุณหภูมิที่เหมาะสม ระบายอากาศดี ไม่ควรมีแสงเล็ดลอดเข้ามา และไม่ควรมีเสียงดัง

-ไม่ควรงีบในเวลากลางวัน ถ้านอนกลางวันเป็นประจำ ไม่ควรงีบเกิน 30 นาที และไม่ควรงีบหลังบ่ายสามโมง (00 น.)

-หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกาเฟอีน เช่น กาแฟ ชา น้ำอัดลม อย่างน้อย 6 ชั่ วโมงก่อนนอน

-หลีกเลี่ยงการดื่มแ อลกอฮ อล์ สู บบุ ห รี่ และอาหารมื้อหนัก รสจัด เผ็ด หรืออาหารหวานอย่างน้อย 4 ชั่ วโมงก่อนนอน

-ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายอย่างน้อย 2 ชั่ วโมงก่อนนอน

-ควรผ่อนคลาย ลดความวิตกกังวล ไม่ควรดูภาพยนตร์ตื่นเต้ นสย องขวัญก่อนนอน

ขอขอบคุณข้อมูล :อาจารย์ ดร.กภ.ธวัชชัย ลักเซ้ง สาขากายภาพบำบัดระบบประส าท สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทย าลัยวลัยลักษณ์,กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (1),(2)

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

× 3 = 15

Back To Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า