แพทย์เผย ทานผงชูรสมาก ส่งผล ต่อร่างกาย

แพทย์เผย ทานผงชูรสมาก ส่งผล ต่อร่างกาย

สารชูรสที่ใช้กันมานานได้แก่กรดกลูตามิกและเกลือของมัน ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่พบได้ในอาหารหลายชนิดในธรรมชาติ มีรายงานว่าการรับประทานสารชูรสในกลุ่มกรดกลูตามิกอาจก่อให้เกิดอาการภัตตาคาร

จีน (Chinese Restaurant Syndrome; CRS)ในผู้บริโภคบางกลุ่มได้ ซึ่งปัจจุบันยังเป็นที่ถกเถียงกันในทางการแพทย์ ทั้งนี้สารชูรสกลุ่มกรดกลูตามิกเป็นวัตถุเจือปนอาหารควบคุมในหลายประเทศ ผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูปต้องระบุไว้บนฉลากให้ชัดเจนเพื่อเป็นข้อมูลให้กับผู้บริโภค

ทั้งนี้ 3 ส.ค. 2562 นายแพทย์ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยถึง คลิปวิดีโอที่เป็น กระแสดังกล่าวว่า ความนิยมในการใส่ผงชูรสในอาหาร เชื่อว่าจะช่วยเพิ่มรสชาติอาหารให้อร่อยขึ้น ความจริงแล้ว

ผงชูรสมีชื่อเรียกว่า โมโนโซเดียมกลูตาเมต ซึ่งมีส่วนประกอบของโซเดียมด้วยผงชูรส จะละลายไขมันให้ผสมกลมกลืนกับน้ำ ทำให้มีรสเหมือนน้ำต้มเนื้อและกระตุ้นปุ่มปลายประสาทของลิ้นกับคอ ทำให้อาหารมีรสหวานอร่อย

แต่ถ้ากินมากเกินไปอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการแพ้ผงชูรส ทำให้รู้สึกชาที่ปาก ลิ้น ปวดกล้ามเนื้อบริเวณโหนกแก้ม ต้นคอ หน้าอก หัวใจเต้นช้าลง หายใจไม่สะดวก ปวดท้อง 

คลื่นไส้ อาเจียน กระหายน้ำ ส่วนผู้ที่แพ้ผงชูรสมาก ๆ จะเกิดอาการชาบริเวณใบหน้า หู วิงเวียน หัวใจเต้นเร็ว จนอาจเป็นอัมพาตตามแขนขาชนิดชั่วคราวได้

แต่อาการเหล่านี้ จะหายเองภายในเวลา 2 ชั่วโมง รวมถึงไม่มีอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ อีก โดยเฉพาะหญิงมีครรภ์ไม่ควรกินผงชูรสเด็ดขาด เพราะอาจส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้ สำหรับทารกแรกเกิดถึง 3 เดือนนั้น 

หากได้กินผงชูรสเข้าไปจะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของสมองในเด็กวัยนี้ ยังไม่รวมถึงภาวะที่ได้รับเกลือโซเดียมมากเกินไป ทำให้ไตเกิดการทำงานมากขึ้นอีกด้วย

นายแพทย์ดนัย บอกอีกว่า แม่ค้าร้านอาหารที่มีฝีมือในการปรุงอาหารหรือมีเมนูชูสุขภาพประจำร้านและใช้น้ำเคี่ยวกระดูกสัตว์อยู่แล้ว ผงชูรสก็ไม่จำเป็นต้องใช้ในการปรุงประกอบอาหาร แต่ถ้าหากจำเป็นต้องใช้ผง

ชูรสจริงๆ ควรใช้ปริมาณเพียงเล็กน้อย และควรเพิ่มความพิถีพิถันในการใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพสดสะอาดมีคุณค่าทางโภชนาการและการปรุง ที่ถูกสุขลักษณะ

หากจะใช้ ให้เลือกซื้อผงชูรสโดยการสังเกตหีบห่อหรือกระป๋องบรรจุขอบผนึกต้องไม่มีรอยตำหนิ ฉลากพิมพ์เป็นตัวหนังสือภาษาไทยชัดเจน ไม่เลอะเลือน และต้องระบุชื่ออาหารแสดงคำว่า “ผงชูรส” ตลอดจน

มีเลขทะเบียนตำรับอาหาร (อย.) ระบุชื่อที่ตั้งของผู้ผลิต เดือนปีที่ผลิต รวมทั้งน้ำหนักสุทธิอย่างชัดเจนเพื่อป้องกันผงชูรสปลอม

ควรทานผงชูรสแต่พอประมาณอย่าเติมชูรสลงในอาหารมากเกินไป เมื่อป่วยขึ้นมาไม่มีใครสามารถรับผิดชอบชีวิตของเราได้ ทานแค่พอดีนะคะ

ขอบคุณข้อมูลทางการแพทย์ และ รูปภาพจาก อีจัน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

86 − = 80

Back To Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า