ประกันสังคมฟังเสียงเรียกร้อง ใช้เงินชราภาพยามเดื อดร้อน 

‘ประกันสังคม’ ฟังเสียงเรียกร้อง ศึกษาเปิดทางใช้ ‘เงินชราภาพ’ ยามเดื อดร้อน 

นางพิศมัย นิธิไพบูลย์ รองเลขาธิการ สำนักงานประกันสังคม ในฐานะโฆษกสำนักงานประกันสังคม เปิดเผยถึงมาตรการบรรเทาผลกระทบจากโ ค วิ ด สำหรับนายจ้างและลู กจ้างในระบบกองทุนประกันสังคม ผ่านรายการสถานีประกันสังคม เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา

สำหรับกรณีที่มีผู้ประกันตนเรียกร้อง ขอนำเงินสมทบกรณีชราภาพจากกองทุนประกันสังคมออกมาใช้ชั่ วคราว เมื่อเกิดความเดื อดร้ อนนั้น นางพิศมัยเปิดเผยว่า สำนักงานฯ รับฟังข้อเรียกร้องดังกล่าวมาจากหลายช่องทางและกำลังอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้

ทั้งนี้ การเปิดให้นำเงินสมทบชราภาพออกมาใช้ชั่ วคราว ต้องไปแก้ไขกฎหมายในระดับ พ.ร.บ. ซึ่งใช้เวลานานพอสมควร โดยสำนักงานฯ กำลังพิจาณาเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆ ที่ใช้วิธีเก็บเงินสมทบและจ่ายสิทธิประโยชน์คล้ายๆ กับประเทศไทยว่า จะสามารถดำเนินการอย่างไรได้บ้าง ซึ่งตอนนี้ก็ได้ประเทศต้นแบบมาหลายประเทศ

สำหรับแนวทางที่เป็นไปได้คือ อาจปล่อยเงินกู้ดอกเ บี้ยต่ำให้ผู้ประกันตนผ่านธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ โดยต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กองทุนประกันสังคมกำหนด แนวทางดังกล่าวคล้ายกับกรณีปัจจุบัน ซึ่งกองทุนฯ เปิดให้นายจ้างที่ประสบปัญหาไ ว รั ส โ ค วิ ด  กู้เงินดอกเบี้ ยต่ำในอัตรา 3% โดยมีนายจ้างยื่นสมัครเข้ามาแล้วเป็นจำนวนมาก

กรณีที่ผู้ประกันตน หน่วยงาน และองค์กรต่างๆ เสนอเข้ามา อยากจะนำเงินกรณีชราภาพของตัวเองไปใช้ เราอยู่ระหว่างการศึกษา ขณะเดียวกันก็ต้องดูด้วยว่า กฎหมายจะแก้ไขได้เร็วขนาดไหน

อย่างไรก็ตาม เงินสมทบกรณี ชราภาพ ของกองทุน ประกันสังคม มีวัตถุประสงค์ให้นำเงินไปใช้ยามชราภาพจริงๆ โดยผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบไ ม่ถึง 180 เดือน ก็จะได้รับเป็นเงินก้อนบำเหน็จ และถ้าจ่ายเงินสมทบมากกว่า 180 เดือนขึ้นไป ก็จะได้รับบำนาญ เพื่อนำไปใช้ยามชรา จะได้มีคุณภาพชีวิตที่ดี

เพราะฉะนั้นการนำเงินชราภาพมาใช้ตอนนี้ ก็เป็นการทำให้เงินให้ผู้ประกันตนหายไปจากระบบ เมื่อถึงเวลาต้องใช้เงินอาจจะลดน้อยถอยลง แต่สำนักงานฯ ก็พร้อมรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่าย

ประกันสังคม 3 ประเภทได้เงิน ชราภาพ

สำหรับยอดรวมผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมทั่วประเทศล่าสุด เมื่อเดือนมิถุนายน 2563 รวมอยู่ที่ 16,407,409 ราย แบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้

มาตรา 33 จำนวน 11.3 ล้านคน

มาตรา 33 คือ ลู กจ้างที่ทำงานในสถานประกอบการที่มีลู กจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป มีอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์และอายุไ ม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ มีผู้ประกันตนในระบบจำนวนมากที่สุด 11,295,514 คน

ผู้ประกันตนมาตรา 33 จะได้รับความคุ้มครองใน 7 กรณี ดังนี้ เ จ็บป่ วย เสี ยชีวิต ว่างงาน คลอดบุตร ทุพพลภาพ ชราภาพ และสงเคร าะห์บุตร

มาตรา 39 จำนวน 7 ล้านคน

มาตรา 39 คือ เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 มาก่อน และนำส่งเงินสมทบมาแล้วไ ม่น้อยกว่า 12 เดือน โดยออกจากงานไ ม่เกิน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ลาออกจากงาน มีผู้ประกันตนในระบบจำนวน 1,737,744 คน

โดยผู้ประกันตนมาตรา 39 จะได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี ดังนี้ เ จ็บป่ วย เสี ยชีวิต ทุพพลภาพ คลอดบุตร สงเคร าะห์บุตร และ ชราภาพ

มาตรา 40 จำนวน 4 ล้านคน

มาตรา 40 คือ บุคคลทั่วไปที่มีอายุไ ม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์และไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์ ทำอาชีพอิสระ ไ ม่มีนายจ้าง มีผู้ประกันตนในระบบจำนวน 3,374,151 คน 

โดยผู้ประกันคนมาตรา 40 จะได้รับความคุ้มครอง 3-4-5 ขึ้นอยู่กับทางเลือก ดังนี้ เงินทดแทนการขาดรายได้ ทุพพลภาพ ชราภาพ (บำเหน็จ) สงเคร าะห์ และเสี ยชีวิต

อายุเกิน 60 ปี สมัครประกันสังคม ม.40 ได้

นอกจากนี้ สำนักงานประกันสังคมเพิ่งปรับปรุงกฎหมายเพื่อเปิดโอกาสให้ แรงงานอิสระหรือผู้ประกอบอาชีพอิสระ ที่มีอายุเกิน 60 ปี แต่ไ ม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์ สามารถสมัครขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ได้แล้ว มีผลตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน 2563 เป็นต้นไป

สำหรับความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ประกันสังคมที่ผู้สูงวัยสามารถเลือกได้ทุกทางเลือก ปัจจุบันมี 3 ทางเลือก

ทางเลือกที่ 1 จ่าย 70 บาท

ทางเลือกที่ 2 จ่าย 100 บาท

ทางเลือกที่ 3 จ่าย 300 บาท

“ผู้สูงวัยที่มีอายุใกล้ครบ 65 ปีบริบูรณ์ ควรรีบสมัครขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 และจ่ายเงินสมทบทันที เพราะหากอายุเกิน 65 ปีบริบูรณ์แล้ว จะไ ม่สามารถสมัครได้”

ที่มา THE BANGKOK INSIGHT

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

8 × = 16

Back To Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า