เตือนระวัง โรคไข้มาลาเรีย ระบาดหนัก ป่ วยแล้ว 3,000 ราย

เตือนระวัง โรคไข้มาลาเรีย ระบาดหนัก ป่ วยแล้ว 3,000 ราย

มีรายงานว่า กรมควบคุมโรค ได้เผยแพร่ข้อมูลจากการเฝ้าระวังสถานการณ์โรคไข้มาลาเรีย ปี 2563 (วันที่ 

1 มกราคม-17 กันยายน 63) พบผู้ป่วยในพื้นที่ 51 จังหวัด จำนวน 3,415 ราย เสียชีวิต 1 ราย จังหวัดที่พบผู้ป่วยมากที่สุด ได้แก่ ยะลา 1,070 ราย รองลงมาคือตาก 851 รายและกาญจนบุรี 425 ราย ตามลำดับ ส่วนใหญ่เป็นคนไทย 2,479 ราย (ร้อยละ 73) และต่างชาติ 936 ราย (ร้อยละ 27)

ส่วนกลุ่มอายุที่พบมากที่สุด ได้แก่ อายุ 25 ถึง 44 ปี (ร้อยละ 28) รองลงมาคือ 5 ถึง 14 ปี (ร้อยละ 24) อายุ 45 ปีขึ้นไป (ร้อยละ 21) และอายุ 15 ถึง 24 ปี (ร้อยละ 21) ตามลำดับ ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มเกษตรกร (ร้อยละ 35) เด็ก/นักเรียน (ร้อยละ 34) และรับจ้าง (ร้อยละ 20) ตามลำดับ”

“การพยากรณ์โรคและภัยสุขภาพประจำสัปดาห์นี้ แม้ว่าปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรียจะลดลงมาก แต่ประเทศไทยยังมีโรคไข้มาลาเรียอยู่ โดยเฉพาะในพื้นที่ป่าเขา น้ำตก โดยคาดว่าจะยังพบผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรียเพิ่มขึ้นได้ในช่วงนี้

เนื่องจากประเทศไทยอยู่ในช่วงฤดูฝน ซึ่งเป็นช่วงที่เหมาะสมต่อการเจริญพันธุ์ของยุงซึ่งเป็นพาหะนำโรคนี้ โรคไข้มาลาเรีย หรือมีชื่อเรียกได้อีกว่า ไข้จับสั่น ไข้ป่า ไข้ดง ไข้ร้อนเย็น ไข้ดอกสัก ไข้ป้าง โรคไข้มาลาเรีย มียุงก้นปล่องเป็นพาหะนำโรค ซึ่งเป็นยุงที่ออกหากินเวลากลางคืน

สาเหตุหลัก คือ ถูกยุงก้นปล่องที่มีเชื้อกัด ส่วนสาเหตุอื่นๆที่อาจพบได้ เช่น จากแม่ที่ป่วยเป็นไข้มาลาเรียสู่ลูกในครรภ์ การถ่ายโลหิต เป็นต้น เมื่อยุงก้นปล่องตัวเมียกัดผู้ป่วยที่มีเชื้อไข้มาลาเรีย เชื้อจะอยู่ในตัวยุงประมาณ 10 ถึง 12 วัน เมื่อยุงนั้นไปกัดคนอื่นต่อก็จะปล่อยเชื้อไข้มาลาเรียเข้าสู่คน จึงทำให้คนที่ถูกยุงกัดเป็นไข้มาลาเรียต่อ

โดยทั่วไปอาการเริ่มแรก ของไข้มาลาเรีย จะเกิดขึ้นหลังจากถูกยุงก้นปล่องที่มีเชื้อกัดประมาณ 10ถึง14 วัน โดยจะจับไข้ไม่เป็นเวลา ไข้ต่ำๆปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัวและกล้ามเนื้อ ตาเหลือง ตับหรือม้ามโต อาจมีอาการคลื่นไส้และเบื่ออาหารได้ หลังจากนั้นจะจับไข้เป็นเวลา มีอาการหนาวๆร้อนๆเหงื่อออก ผู้ป่วยจะอ่อนเพลียและเหนื่อย หากมีอาการป่วยดังกล่าว

ภายหลังมีประวัติเคยเข้าไปในป่า หรือ อาศัยอยู่ในป่าในช่วงเวลา 2 สัปดาห์ ถึง 2 เดือน ก่อนเริ่มป่วย ให้รีบนำไปพบแพทย์ และให้ประวัติการเดินทางเข้าป่าหรือพักอาศัยในป่า

กรมควบคุมโรค ขอเตือนประชาชนว่า ควรป้องกันตัวเองไม่ให้โดนยุงกัด ควรสวมใส่เสื้อผ้าปกคลุมแขนขาให้มิดชิด ใช้ยาทากันยุงหรือจุดยากันยุง นอนในมุ้งชุบน้ำยาทุกคืนใช้มุ้งชุบน้ำยาคลุมเปลเวลาต้องไปค้างคืนในไร่นาป่าเขา

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422 นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัยกล่าว

ขอบคุณข้อมูลจาก กรมควบคุมโรค

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

× 4 = 36

Back To Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า